ข้อมูล ห้องเรียน



โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โดยการกำกับดูแล :
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ปัญญาดี มีคุณธรรม สร้างสรรค์สังคม

     หลักสูตรมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสาขาวิชาการที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เช่น สาขาเทคโนโลยีการยาง วิทยาศาสตร์อาหารและโภชนาการ (ฮาลาล) และเทคโนโลยีประมง เป็นต้น


โทรศัพท์ 0 7333 5080
โทรสาร 0 7333 5080
http://satit.pn.psu.ac.th
email: satitpsupn@gmail.com


หลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนในโครงการ วมว.
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี



หลักสูตรกลาง



โครงสร้างหลักสูตร





โรงเรียนสาธิตวิทยาการอิสลาม

โดยการกำกับดูแล :
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คนดี คนเก่ง มีคุณธรรม

     หลักสูตรที่มีความโดดเด่นด้านการใช้ฐานเทคโนโลยีทรัพยากรธรรมชาติ ด้านอาหาร เกษตร ยาง ประมงบนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรม และการพัฒนาความเป็นสากล โดยเน้นการจัดการสอนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้นักเรียนสามารถบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีดิจิตอล มาใช้ในการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติ และมุ่งสู่การผลิตนวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจของภาคใต้


โทรศัพท์ 0 7331 3928-50 ต่อ 1599, 09 0179 4248
โทรสาร 0 7333 1305
https://satitislam.psu.ac.th/
email: satit.cis@gmail.com


หลักเกณฑ์/แนวทางปฏิบัติในการเป็นนักเรียนโครงการ วมว. ระยะที่ 2

๑. เกณฑ์การสาเร็จการศึกษาตามหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกากับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ระยะที่ 2 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป


                    1) นักเรียนที่สามารถรักษาสภาพการเป็นนักเรียนโครงการ วมว. ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ภาคการศึกษาที่ ๑ จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ภาคการศึกษาที่ ๒
                    2) ผ่านการประเมินเกี่ยวกับการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน ตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
                    3) ผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ รวมทั้งการมีจิตสาธารณะที่รับใช้สังคมตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
                    4) ทำโครงงานและเสนอผลการทำโครงงานอย่างน้อย 1 เรื่อง และต้องได้รับผลการประเมินขั้นต่ำ “ผ่าน”
                    5) เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลายตามความถนัดและความสนใจตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่โรงเรียนกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อเพิ่มศักยภาพความเป็นผู้นำที่ดีมีคุณธรรมและจริยธรรมของสังคม
                    6) เข้าร่วมกิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติและพบครูที่ปรึกษาประจำชั้นตามที่โรงเรียนกำหนด
                    7) การปฏิบัติที่นอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว ให้เสนอคณะกรรมการตามที่โรงเรียนกำหนดพิจารณาเป็นรายๆ ไป

๒. เกณฑ์การรักษาสภาพการเป็นนักเรียนในโครงการ วมว. ระยะที่ 2 (สำหรับใช้กับนักเรียนโครงการ วมว. ตั้งแต่ปีการศึกษา 255๗ เป็นต้นไป)

          “นักเรียนในโครงการ วมว. จะผ่านเกณฑ์การรักษาสภาพการเป็นนักเรียนโครงการ วมว. ได้ ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมรวมทุกวิชา ไม่ต่ำกว่า 2.50 รวมทั้งคะแนนเฉลี่ยสะสมรวมในรายวิชาวิทยาศาสตร์และรายวิชาคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 3.00 ในแต่ละภาคการศึกษา หากนักเรียนคนใดมีผลระดับ คะแนนการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดจะมีสภาพรอพินิจที่ต้องแก้ไขภายใน 1 ภาคการศึกษา” ทั้งนี้ กรณีนักเรียนไม่สามารถรักษาสภาพการเป็นนักเรียนในโครงการ วมว. ตามเกณฑ์ฯ ที่กำหนดได้ : นักเรียนผู้นั้นสามารถเรียนอยู่ในห้องวิทยาศาสตร์ของโครงการ วมว. เช่นเดิมได้ โดยไม่ได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลจากโครงการตามที่คู่มหาวิทยาลัย -โรงเรียนกำหนด ทั้งนี้ให้โรงเรียนทำความตกลงกับผู้ปกครองของนักเรียนเพื่อแสดงความยินยอมให้นักเรียนเรียนต่อไปโดยผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลของนักเรียน

๓. การลาออกจากโครงการ วมว. ระยะที่ ๒

          กรณีนักเรียนโครงการ วมว. ขอลาออกในกรณีใดๆ ก็ตาม ให้อยู่ในดุลยพินิจของมหาวิทยาลัยร่วมกับโรงเรียน พิจารณาเรียกเงินสนับสนุนคืนหรือพิจารณาปรับเงินภายใต้วงเงินไม่เกิน 1.5 เท่าของเงินที่สนับสนุนนักเรียนไปแล้ว

๔. ประเด็นการลาพักการศึกษาของนักเรียนโครงการ วมว.

          นักเรียนโครงการ วมว. สามารถลาพักการศึกษาได้ในประเด็น : เจ็บป่วย ได้ทุนแลกเปลี่ยนนักเรียนของโครงการอื่น และเหตุจำเป็นอื่น ๆ

หมายเหตุ มติคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘